วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

- ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย -

สมัยอาณาจักรน่านเจ้า


พระเจ้าเหม่งแซเจ้า
พระเจ้ามองกาตา
พระเจ้าสินุโล (โอรสพระเจ้ามองกาตา)
พระเจ้าพีล่อโก๊ะ (ขุนบรม)
พระเจ้าโก๊ะล่อฝง (โอรสพระเจ้าพีล่อโก๊ะ)



สมัยกรุงสุโขทัย  (ราชวงศ์พระร่วง)



1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ.ศ. 1781 - ไม่ทราบแน่นอน
2 .พ่อขุนบาลเมือง
พ.ศ. ไม่ทราบแน่นอน - 1820
3. พ่อขุนรามคำแหง
พ.ศ. 1820- 1860 (40 ปี)
4. พญาเลอไท
พ.ศ. 1861-1897 (36 ปี)
5. พญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1)
พ.ศ. 1897-1919 (22ปี)
6. พญาไสลือไท (พระมหาธรรมราชาที่ 2)
พ.ศ. 1919- 1920 (1ปี)
7. พระมหาธรรมราชาที่ 3
(ไม่ทราบระยะเวลาแน่ชัด)
8. พระมหาธรรมราชาที่ 4
(ไม่ทราบระยะเวลาแน่ชัด)

สมัยกรุงศรีอยุธยา   (ราชวงศ์อู่ทอง (หรือราชวงศ์เชียงราย)


1. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พะงั่ว) พ.ศ. 1913-1931 (18 ปี)


2 . พระเจ้าทองลั่น พ.ศ. 1931 (ครองราชย์เพียง 7 วันก็ถูกปลงพระชนม์)


ราชวงศ์อู่ทอง (หรือราชวงศ์เชียงราย)
1.สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 1931-1938 (7 ปี)


2สมเด็จพระรามราชาธิราช (โอรสสมเด็จพระราเมศวร) พ.ศ. 1938 – 1962 (14 ปี – ถูกถอดจากราชสมบัติ)


 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ



  1. สมเด็จพระนครอินทราธิราช (พระอินทราชา)
    พ.ศ. 1952 –1967 (15ปี)
  2. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
    พ.ศ. 1967 –19991 (24ปี)
  3. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
    พ.ศ. 1991 –2031 (40ปี)
  4. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
    พ.ศ. 2031 –2034 (3ปี)
  5. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช)
    พ.ศ. 2034 –2072 (38ปี)
  6. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธธางกูร)
    พ.ศ. 2072 –2076 (4ปี)
  7. สมเด็จพระรัษฏาธิราชกุมาร
    พ.ศ. 2076 (ครองราชย์ 5 เดือน ก็ถูกปลงพระชนม์)
  8. สมเด็จพระไชยราชาธิราช
    พ.ศ. 2077 –2089 (12ปี)
  9. สมเด็จพระยอดฟ้า (โอรสพระไชยราชาธิราช)
    พ.ศ. 2089 –2091 (2ปี – ถูกปลงพระชนม์)
  10. ขุนวรวงษาธิราช
    พ.ศ. 2091 (ครองราชย์ 42 วัน – ถูกปลงพระชนม์)
  11. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก)
    พ.ศ. 2091 –2111 (20 ปี)
  12. สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ)
    พ.ศ. 2111 – 2112 (1ปี)

ราชวงศ์สุโขทัย
 
1. สมเด็จพระมหาธรรมราชา
พ.ศ. 2112-2133 (21 ปี)

2.  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) พ.ศ. 2133-2148 (15   ปี)

3. สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระอนุชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) พ.ศ. 2148-2153 ( 15 ปี)
 
4. พระศรีเสาวมาตย์ (โอรสพระเอกาทศรถ) พ.ศ. 2153  (ครองราชย์ไม่ถึงปี – ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์)
5. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถต่างพระมารดาพระศรีเสาวภาคย์) พ.ศ. 2153-2171 (18 ปี)

6. สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) พ.ศ. 2171-2172 (ครองราชย์ 1 ปี -   ถูกปลงพระชนม์)
 
7.สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ พ.ศ. 2172  (ครองราชย์ 28 วัน – ถูกถอดจากราชสมบัติ, ปลงพระชนม์)

ราชวงศ์ปราสาททอง

1.สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2172-2199 (27 ปี) 
 
2.สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) พ.ศ. 2199 (ครองราชย์ 4 วัน – ถูกปลงพระชนม์)

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พ.ศ. 2199   (ครองราชย์ 2 เดือน – ถูกปลงพระชนม์)
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199-2231 (32 ปี)
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

1.สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. 2231 –2246 (15ปี)
2. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) พ.ศ. 2246 –2251 (5ปี) 
 
3. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ พ.ศ. 2251 –2276 (24ปี)
 
4. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ พ.ศ. 2276 –2301 (26ปี)

5. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) พ.ศ. 2301 (ครองราชย์ 2 เดือน – สละราชสมบัติออกผนวช)

6. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) พ.ศ. 2301-2310 (9 ปี)

ช่วงปี 2310-2313 ไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน เนื่องจากเป็นช่วงเสียกรุงแก่พม่า *


สมัยกรุงธนบุรี

1.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระเจ้ากรุงธนบุรี) พ.ศ. 2313-2325 (12 ปี)


สมัยกรุงรัตนโกสินทร์    (ราชวงศ์จักรี)

1. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ทองด้วง)พ.ศ. 2325-2352 (27ปี)

2 .สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (เจ้าฟ้าฉิม) พ.ศ. 2352-2367 (15 ปี)

3. สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) พ.ศ. 2367-2394 (27ปี)

4. สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) พ.ศ. 2394- 2411 (17 ปี)

5. สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พ.ศ. 2411-2453 (42 ปี)6. สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พ.ศ. 2453-2468 (15 ปี)

7. สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พ.ศ. 2468-2477 (9 ปี)

8. สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (โอรสสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์) พ.ศ. 2477-2489 (12 ปี)

9.สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (โอรสสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์) พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน






























- ประวัติศาสตร์ไทย -

ประวัติศาสตร์ไทย  นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา  พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก  อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548